‘โรคลมพิษ’ ผื่นแดงบนผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม

นายเเพทย์พงษ์ศักดิ์ วังรัตนโสภณ
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบภูมิคุ้มกัน

โรคลมพิษ คืออะไร?

“ลมพิษ (Urticaria)” คือ ผื่นคันที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-40 ปี ลักษณะลมพิษจะเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย กระจายตามตัวแขนขา หรือบริเวณใบหน้า ซึ่งผื่นลมพิษสามารถเกิดขึ้นได้บนทุกส่วนในร่างกาย โดยมากมักเป็นไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นจะค่อยๆ จางหายไป บางรายอาจมีอาการถึงขั้นปวดท้อง แน่นจมูก หายใจติดขัด หรือบางรายอาจมีอาการรุนแรงมาก ถึงขั้นเสียชีวิตได้

ประเภทของลมพิษ

ลมพิษนั้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ประกอบด้วย

1. ลมพิษชนิดเฉียบพลัน  มักมีอาการต่อเนื่องกันไม่เกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุที่เกิดได้ คือ จากการแพ้อาหาร, แพ้ยา, แมลงสัตว์กัดต่อย การติดเชื้อบางชนิด บางรายอาจมีอาการแสดงที่อวัยวะอื่น เช่น แน่นหน้าอก, แน่นจมูก, ปวดท้อง, ความดันต่ำ, ปากและตาบวม ผื่นอาจขึ้นต่อเนื่องไปจนเป็นลมพิษเรื้อรัง

2. ผื่นลมพิษชนิดเรื้อรัง มักจะแสดงอาการแบบเป็นๆ หายๆ อย่างน้อย 2 วัน/ สัปดาห์ ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุจะแตกต่างจากลมพิษเฉียบพลัน โดยคนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งไม่สามารถหาสาเหตุได้ เพราะอาจเกิดจากความแปรปรวนภายในร่างกาย แต่สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้ลมพิษเรื้อรังเป็นมากขึ้น ได้แก่ ยาแอสไพริน, ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์, ยาปฏิชีวนะ, ประจำเดือน, พักผ่อนไม่เต็มที่ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดลมพิษ

สาเหตุของการเกิดผื่นลมพิษนั้นมีหลายปัจจัย โดยสาเหตุที่เราสามารถพบได้บ่อยๆ มีดังนี้

▪ แพ้อาหาร 
▪ แพ้ยา 
▪ การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส, เชื้อแบคทีเรีย,  เชื้อรา, ท้องเสีย, ทอนซิลอักเสบ, ฟันผุ, หูอักเสบ, เป็นหวัด ฯลฯ
▪ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
▪ แพ้ฝุ่น ละอองเกสร พืชบางชนิด และขนสัตว์ 
▪ แพ้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
▪ การสัมผัสสารเคมีหรือสารบางอย่าง  เช่น เครื่องสำอาง สเปรย์ ยาฆ่าแมลง  เป็นต้น
▪ ลมพิษเรื้อรัง ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น การแพ้แสงแดด แพ้ความร้อน ความเย็น เหงื่อ (เช่น เหงื่อหลังจากการออกกำลังกาย) การสัมผัสน้ำ อุณหภูมิในร่างกายสูง หรือการขีดข่วนที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง เป็นต้น  
▪ พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอ
▪ ภาวะความเครียด วิตกกังวล เป็นสาเหตุหนึ่งของลมพิษเรื้อรัง 

โรคลมพิษอาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคไทรอยด์ หรือลูปัส (Lupus) หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่เรียกกันติดปากว่า “โรคพุ่มพวง”

ทำอย่างไรเมื่อเป็นผื่นลมพิษ

▪ หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นลมพิษ
▪ หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ และเลี่ยงไม่รับประทานหรือสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ  
▪ ใช้ยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ง่วง เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น
▪ ดูแลผิวไม่ให้ผิวแห้งตึงจนเกินไป หมั่นทาครีมหรือโลชั่นที่ปราศจากน้ำหอม เพื่อลดความไวของผิวหนัง
▪ อาจใช้ คาลาไมน์โลชั่น ทาบริเวณผื่นลมพิษเพื่อช่วยลดอาการคัน
▪ ไม่แกะเกาผิวหนัง, ขีดข่วน เพราะอาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบได้
▪ ผู้ที่เสี่ยงมีอาการแพ้หรือต้องการทราบความเสี่ยงในการแพ้สารใดๆ อาจป้องกันได้โดยเข้ารับการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

▪ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่อาการโรคลมพิษไม่หายไปภายใน 24 ชั่วโมง
▪ ติดต่อแพทย์ทันทีที่อาการเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น 
▪ มีอาการปวดตามข้อ อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ และมีอาการเจ็บบริเวณผื่นร่วมด้วย
▪ ลมพิษเฉียบพลันหากมีอาการรุนแรง เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง มีอาการหน้าบวม ตาบวม ปากบวม ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอาการหอบหืด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต 
▪ เมื่อรู้สึกวิตกกังวล ส่งผลต่อสุขภาพจิตและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

ยาฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้

ยาแต่ละประเภทล้วนมีข้อบ่งชี้ ข้อควรระวังในการใช้ยา เนื่องจากยาแก้แพ้แต่ละชนิดล้วนมีส่วนประกอบที่แตกต่างกันจึงอาจส่งผลให้มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาที่แตกต่างกันไปด้วย ควรศึกษาข้อมูลยาอย่างละเอียด ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรและใช้ยาอย่างถูกวิธี หากพบอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังการใช้ยา ควรรีบพบแพทย์ทันที


ผื่นขึ้นแบบไหนเข้าข่ายติด Covid-19 – สังเกตอาการใหม่ของผู้ป่วยโควิด-19

อาการเตือน ที่บอกว่า คุณกำลัง “แพ้ยา”

บทความทางการแพทย์ โรคที่พบบ่อย
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า