ปวดหลัง ร้าวลงขา เสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

นายแพทย์จรูญ จันทร์ดำรงกุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมกระดูกสันหลัง

ปวดหลัง ร้าวลงขา
สัญญาณเตือนหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

“หลายคนคงต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานของอาการปวดหลัง จนบางครั้งก็รบกวนชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งหลายคนอาจทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือไปนวดบำบัด นวดแก้ปวดหลัง แต่อาการปวดหลังไม่ดีขึ้นจนต้องมาพบแพทย์”

นายแพทย์จรูญ จันทร์ดำรงกุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมกระดูกสันหลัง

อาการปวดหลังเกิดจากอะไร

อาการปวดหลังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น กล้ามเนื้อหลังอักเสบ ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังอักเสบ หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งมักจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลัง รวมไปถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราที่มีการเคลื่อนไหวบางอย่าง เช่น การยกของหนักบ่อยๆ การก้ม การบิดเอี้ยวตัว ก็มีส่วนที่ทำให้มีอาการปวดหลังแย่ลง

 “ปวดหลังร้าวลงขา” วัยทำงานอย่านิ่งนอนใจ

อาการปวดหลังร้าวลงขา คือ อาการหนึ่งที่ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ควรระวัง ซึ่งอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท โดยส่วนใหญ่พบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการนี้อยู่ในวัยทำงานมากที่สุด

“โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท” คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณเตือนได้ดังนี้

  1. ปวดหลัง หรือปวดบริเวณเอว เป็นๆ หายๆ
  2. ปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า มีอาการชาร่วมด้วย
  3. เดินได้ไม่ไกล จะมีอาการปวดชาลงไปถึงขา เหมือนเป็นตะคริว ต้องหยุดพัก แล้วถึงเดินต่อไปได้
  4. ในรายที่อาการรุนแรง อาจมีอาการอ่อนแรงของขา กระดกข้อเท้าไม่ได้ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการขับถ่าย

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาหายไหม?

สำหรับวิธีการดูแลรักษาผู้ที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แพทย์จะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยและเลือกแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยวิธีรักษาอาการปวดหลัง สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัวของผู้ป่วยเอง ซึ่งมีแนวทางในการรักษา ดังนี้

  • ปรับสภาพการใช้งานให้ถูกต้อง เช่น ไม่ควรนั่งอยู่กับที่นานติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง ควรจะลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถ หลีกเลี่ยงการก้มเงย ยกของหนักเป็นประจำ
  • การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลัง และหน้าท้องให้แข็งแรง
  • การฝึกยืดกล้ามเนื้อหลัง เพื่อเป็นการลดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง
  • ทานยาแก้ปวด หรือกายภาพบำบัด เพื่อรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ 80% จะมีอาการดีขึ้น

ปวดหลังแบบไหนที่ควรพบแพทย์

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง และสงสัยว่าต้องพบแพทย์หรือไม่ สามารถสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการดังกล่าว ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

  • มีอาการปวดหลังเรื้อรังนานเกิน 1 เดือน ทานยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • ปวดหลังร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า มีอาการชาร่วมด้วย
  • มีอาการขาอ่อนแรง กระดกข้อเท้าไม่ได้

อาการปวดหลัง เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายส่วนใหญ่ ถือเป็นอาการที่ไม่ควรชะล่าใจหรือปล่อยทิ้งไว้ เพราะนั่น อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้

หากคุณกำลังมีอาการปวดหลังเรื้อรัง ควรปรึกษาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โดยโรงพยาบาลศิครินทร์ มีทีมศัลยแพทย์ออโธปิดิกส์ ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันกระดูกและข้อ ที่พร้อมให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท และกล้ามเนื้อทุกชนิด ให้คำปรึกษา และการดูแลรักษาอย่างครบวงจร และเหมาะกับผู้ป่วยแต่ละรายอย่างดีที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยทุกท่านได้ใช้ชีวิตและกลับไปทำกิจกรรมที่ตนเองรักอย่างมีความสุข


บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า